Happy Home
Banbangkhae Social welfare development center for older person
Thailand

The Problem

จากผลงานวิจัยที่มีการทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้ของผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2545 – 2550 ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการ พบว่า ปัญหาของผู้สูงอายุ มีดังนี้
1.ปัญหาด้านสุขภาพ พบว่า ผู้สูงอายุมีทุกขภาวะจากปัญหาการมองเห็น ปัญหาการได้ยิน การบดเคี้ยวอาหาร และจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีภาวะสมองเสื่อม การหกล้ม ภาวะน้ำหนักเกิน อ้วนเนื่องจากไม่ได้ออกกำลังกาย และการสูบบุหรี่
2.ปัญหาด้านเศรษฐกิจ พบว่าผู้สูงอายุที่มีรายได้มากกว่า 100,000 บาทต่อปีขึ้นไป มีอยู่ประมาณร้อยละ 15.38 ขณะที่ประชาชนยากจน (รายได้ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อปี) มีอยู่ประมาณร้อยละ 34.13 และพบว่าร้อยละ 31.3 ของผู้สูงอายุไม่ได้ออมหรือสะสมเงินทองหรือทรัพย์สิน
3.ปัญหาด้านครอบครัวและผู้สูงอายุ มีแนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียว อยู่กับสามีและภรรยาโดยไม่มีบุตรเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ครอบครัวขยายที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ด้วย มีแนวโน้มลดลง ผู้สูงอายุที่มีฐานะปานกลางและยากจนยังไม่ได้รับการดูแลจากครอบครัวตามสภาพร่างกายและความสามารถที่มีอยู่ ผู้สูงอายุที่มีความสุขที่สุด ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีหนี้สิน มีสุขภาพดีมาก ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการประกอบกิจวัตรประจำวัน อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดีมาก
จากการศึกษาปัญหาโดยรวมข้างต้น พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ จึงถูกลูกหลานหรือสมาชิกในครอบครัวทอดทิ้ง ไม่สามารถให้การดูแลได้ จึงจำเป็นต้องเข้ารับบริการสวัสดิการสังคมจากหน่วยงานของภาครัฐ
ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น และเพื่อประสิทธิภาพทางการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพผู้รับบริการสูงอายุให้ครบวงจรตามสุขภาวะที่ดี ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค จึงเห็นความสำคัญในการจัดสรรบริการด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายตามความต้องการ และตามหลักวิชาการที่ควรจะเป็นตามวิชาชีพ ให้กับผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และมีคุณค่าในช่วงบั้นปลายของชีวิต โดยจัดโครงการซึ่งถือเป็นโครงการที่มีที่มาจากความต้องการแก้ปัญหาการให้บริการด้านสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุอย่างแท้จริง

Solution and Key Benefits

 What is the initiative about? (the solution)
ประโยชน์สำคัญที่ได้จากกิจกรรมริเริ่มนี้คืออะไร (แนวทางในการแก้ปัญหา) หากหน่วยงานไม่มีการปรับปรุงจะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อหน่วยงานภาครัฐ และประชาชน นอกจากเสนอในเชิงคุณภาพแล้ว ควรเสนอในส่วนของเชิงปริมาณประกอบ เช่น การวัดผลด้านต้นทุน หรือความคุ้มค่า

เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุ ให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี จึงเกิดดำเนินการดังนี้
- กำหนดให้มี แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564) โดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นคงในวัยสูงอายุ ด้านต่าง ๆ อาทิ ทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการออม และระบบบำนาญแห่งชาติ ให้การศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ส่งเสริมให้คนในสังคมเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุ เป็นต้น
- จัดตั้งกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เพื่อทำหน้าที่ในการให้บริการสวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ คนไร้ที่พึ่ง ผู้ประสบปัญหาทางสังคม โดยการช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหา รวมทั้งการส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชนและท้องถิ่นจัดสวัสดิการสังคม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดำรงชีวิต และพึ่งตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุให้อยู่ในบ้านอย่างมีความสุข และมีคุณค่า” (Happy Home) ขึ้น เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุแบบองค์รวม โดยการผสมผสานเทคนิควิธีการฟื้นฟูผู้สูงอายุที่มีอยู่เดิม มาพัฒนาจัดระบบรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุอย่างเป็นกระบวนการขั้นตอนที่ชัดเจน และสามารถขับเคลื่อนให้ผู้สูงอายุมีการฟื้นฟู พัฒนาสุขภาวะครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ-อารมณ์ สังคม และด้านจิตวิญญาณ จำนวน 11 โปรแกรม ดังนี้

Actors and Stakeholders

 Who proposed the solution, who implemented it and who were the stakeholders?
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มีนโยบายให้ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในสังกัดที่รับผิดชอบ จำนวน 12 แห่งทั่วประเทศ คิดโครงการใหม่ในรอบปีงบประมาณ 2553 เพื่อพัฒนาการทำงานด้านสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ภายใต้ชื่อว่า โครงการ Happy Home ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ศูนย์ ฯ ผู้สูงอายุบ้านบางแค เป็นผู้คิดและริเริ่มนำร่องตามนโยบายดังกล่าวข้างต้น
เมื่อได้รับนโยบายจากทางหน่วยงานต้นสังกัดแล้ว ศูนย์ ฯ ผู้สูงอายุบ้านบางแค ได้มีการจัดประชุมร่วมกัน และดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคนได้ใช้กระบวนการ ศึกษา พัฒนา ค้นคว้า ความรู้ ข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะการค้นคว้าจากผู้รู้ตามแหล่งการศึกษาต่าง ๆ หรือข้อมูลจากทาง Internet หรือ ศึกษานวัตกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลความรู้ในการทำโครงการ Happy Home
หลังจากนั้น ศูนย์ ฯ ผู้สูงอายุบ้านบางแค ได้จัดทำโครงการ และดำเนินงานตามกระบวนงานและขั้นตอนที่กำหนดไว้ ซึ่งรูปแบบการดำเนินงาน เป็นการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างทีมบุคลากรภายในศูนย์ ฯ ผู้สูงอายุบ้านบางแค และหน่วยงานหรือชุมชนต่าง ๆ ทั้งนี้ได้มีการติดตามประเมินผล เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเป็นระยะ ๆ
ขณะเดียวกัน ศูนย์ ฯ ผู้สูงอายุบ้านบางแค ได้ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามโครงการที่ได้จัดให้มีขึ้น จึงได้มีนโยบายในการประสานความร่วมมือต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ และสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้มีส่วนได้เสียสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในหน่วยงาน ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และผู้สูงอายุผู้รับบริการ
2. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกหน่วยงาน ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบาย ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา สมาคมธุรกิจ สมาคมวิชาชีพ ชุมชน ประชาชนทั่วไป
ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมตามโครงการ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือและรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. ผู้รับผิดชอบโครงการมีการให้ข้อมูลแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยจะอธิบายถึงเหตุผล ที่มา วัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้ และอธิบายถึงความต้องการและความพร้อมของแต่ละกลุ่มที่จะให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ
2. การปรึกษาหารือ (consultation) เป็นการร่วมกันหาวิธีการที่จะดำเนินการในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม ดีที่สุด และเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่
3.การตัดสินใจร่วมกัน (collaborative decision making) การตัดสินใจร่วมกันนี้เป็นการทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เกิดความรู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมในการทำให้โครงการ ประสบผลสำเร็จลุล่วงด้วยดี และ ทุกฝ่ายได้ผลประโยชน์ร่วมกัน
โดยตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ ศูนย์ ฯ จะมีการนำข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาปรับปรุงโครงการ ฉะนั้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มาร่วมปรึกษาหารือและประชุมรับฟังความคิดเห็น ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยเฉพาะเกิดประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุ กล่าวคือ ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่ดี ครอบคลุม 4 มิติทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ อารมณ์ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ

(a) Strategies

 Describe how and when the initiative was implemented by answering these questions
 a.      What were the strategies used to implement the initiative? In no more than 500 words, provide a summary of the main objectives and strategies of the initiative, how they were established and by whom.
ยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผลคืออะไร
- การสร้างเครือข่าย ศูนย์ ฯ ผู้สูงอายุบ้านบางแค ได้ให้ความสำคัญกับการจัดแบ่งบทบาทที่ชัดเจนของเครือข่ายภาคี ที่ประกอบด้วย
- ภาครัฐ อาทิ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ, ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตภาษีเจริญ , สถานีกาชาดที่ 11 (วิเศษนิยม) ร่วมสนับสนุน ข้อมูล/ วิทยากร ให้ความรู้ด้านงานฝีมือ และด้านการป้องกัน รักษา ส่งเสริม ฟื้นฟูด้านสุขภาพ
- ภาคเอกชน อาทิ บริษัทบุญรอดบริวเวอรี จำกัด , บริษัทนานมี จำกัด ,มูลนิธิบ้านบางแค ฯ ร่วมสนับสนุน อุปกรณ์/เงินทุนในการดำเนินงานกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
- ภาคสถาบันการศึกษา อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม,มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมสนับสนุน ข้อมูล/ วิทยากร ด้านการป้องกัน รักษา ส่งเสริม ฟื้นฟูด้านสุขภาพ
- สื่อมวลชน อาทิ รายการข่าวด้านสุขภาพ, รายการข่าวตามสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง , สถานีวิทยุชุมชน ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสารการดำเนินกิจกรรมให้สังคมรับทราบ
- ภาคชุมชน ประชาชน ร่วมสนับสนุน ข้อมูล/ความรู้/เงินทุนในการดำเนินงานกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
โดยเครือข่ายภาคีทุกภาคส่วน ได้ดำเนินภารกิจร่วมมือสนับสนุนซึ่งกันและกัน ควบคู่ไปกับการสร้างความรู้ ความเข้าใจในหลักการฟื้นฟูสุขภาวะผู้สูงอายุครอบคลุม 4 มิติ อย่างต่อเนื่อง มีส่วนร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการในรูปแบบต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับมิติต่าง ๆ ของโครงการ
- กำหนดแผนปฏิบัติการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การพัฒนาระบบสุขภาพครอบคลุมทุกมิติ มีการกำหนดเป็นแผนประเมินผลการดำเนินงาน ในรูปแบบการประชุม การสร้างความรู้ภายใต้การปฏิบัติงาน การจัดเชิญผู้เชี่ยวชาญที่เป็นภาคีเครือข่ายร่วมให้ความรู้ ประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อพัฒนารูปแบบเป็นประจำทุกอาทิตย์ และทุกระยะเวลา 3,6 เดือน ซึ่งก่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพรูปแบบการให้บริการ อย่างต่อเนื่อง
- สร้างองค์ความรู้ และกระบวนการเรียนรู้ ศูนย์ ฯ ผู้สูงอายุบ้านบางแค มีการบริหารจัดการองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ ในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาวะที่ครอบคลุมแบบองค์รวมใน 4 มิติ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ อาทิ การบันทึกผลการการดำเนินงานเป็นรายบุคคล การจัดทำคู่มือการดำเนินงาน ในแต่ละโปรแกรม การบันทึกเทป รูปภาพ เผยแพร่ถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มที่สนใจ และที่เกี่ยวข้อง ผ่านกระบวนการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนกับผู้เกี่ยวข้อง และจากประสบการณ์การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานจริงเป็นหลัก
- เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนงานตามภารกิจของโครงการ สู่การปฏิบัติ โดยให้ความสำคัญกับการศึกษา เรียนรู้ที่จะสร้างองค์ความรู้ ที่จะช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้และการเผยแพร่ขยายผลให้เกิดประโยชน์ทั้งในระดับการปฏิบัติและระดับนโยบายต่อสังคมโดยรวมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
- การพัฒนาบุคลากร ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการให้ความสำคัญในการเอาใจใส่กับการดำเนินการ ด้วยการให้การสนับสนุน ทั้งด้านความคิดและการปฏิบัติ การให้คำแนะนำ และสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือที่จะต้องใช้เพื่อการจัดบริการตามโปรแกรมต่าง ๆ ให้สิ่งอำนวยความสะดวก ตามความจำเป็นโดยไม่รีรอ ตลอดจนมีการมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาดำเนินการอย่างชัดเจน

(b) Implementation

 b.      What were the key development and implementation steps and the chronology? No more than 500 words
กุญแจสำคัญในการพัฒนา ลำดับขั้นตอน และลำดับเหตุการณ์ในการปฏิบัติคืออะไร

กระบวนการในการแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนางาน เริ่มต้นจาก การศึกษาผลงานวิจัยที่มีการทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้และปัญหาของผู้สูงอายุไทย ตลอดจนปัญหาที่หน่วยงานพบ ในด้านการปฏิบัติงานโดยตรงกับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการให้บริการ รูปแบบการให้บริการ ตลอดจนการได้รับนโยบายด้านการพัฒนางานผู้สูงอายุ จึงได้เกิดการดำเนินงาน โครงการ “ส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุให้อยู่ในบ้านอย่างมีความสุข และมีคุณค่า” (Happy Home) ขึ้น โดยมีการกำหนดรูปแบบการให้บริการ เพื่อให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตประจำวัน โดยการพึ่งพาตนเองให้นานที่สุด และลดเวลาการเจ็บป่วยและทุพพลภาพลงให้สั้นที่สุด โดยจัดให้ มีกิจกรรมการให้บริการที่หลากหลาย ให้ผู้สูงอายุได้เลือกเข้าร่วมกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ตามโปรแกรมการฟื้นฟูสุขภาวะที่ครอบคลุม 4 มิติ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยผู้สูงอายุที่รับบริการไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ทั้งนี้ต้องอาศัยบุคลากร เครือข่ายและการมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วนและที่สำคัญที่สุด คือ ตัวผู้สูงอายุ/ผู้เข้าร่วมโครงการที่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำหรือกิจกรรมที่เข้าร่วมอย่างสม่ำเสมอ จึงจะสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

การฟื้นฟูสุขภาวะผู้สูงอายุ ครอบคลุม 4 มิติ มีการดำเนินการ ดังนี้
ผู้สูงอายุทุกรายที่เข้าร่วมโครงการจะต้องได้รับการทดสอบตามแบบประเมินสุขภาวะ ทั้งด้านร่างกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ รายบุคคล จากนั้น ทีมสหวิชาชีพ จะมีการวิเคราะห์ปัญหาตามความจำเป็นพิเศษรายบุคคลร่วมกัน และกำหนดเป็นแผนการฟื้นฟูสุขภาวะรายบุคคล Individual Rehabilitation Programs (IRP) เพื่อเป็นเครื่องมือในการให้บริการฟื้นฟูสุขภาวะผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล โดยมีเป้าหมายการฟื้นฟู บำบัดอย่างชัดเจน และในการเข้าร่วมกิจกรรมผู้สูงอายุจะถูกบันทึกประเมินพฤติกรรมทุกครั้ง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงความต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพ และเมื่อเกิดเปลี่ยนแปลง /การเกิดปัญหาด้านสุขภาพจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที เช่น การประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ซึ่งแต่ก่อนจะใช้การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว เมื่อมีโครงการนี้ได้มีการสร้าง Snoezelen room สำหรับผู้สูงอายุจึงได้มีการนำอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้นมาใช้ในการฝึกความแข็งแรง การควบคุมกล้ามเนื้อขาและสะโพกควบคู่ไปกับการเล่นเกม ทำให้ผู้สูงอายุไม่เกิดความเครียดและสนุกกับการฝึกจึงช่วยให้สามารถป้องกันการหกล้มได้ตรงจุด Snoezelen Room ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการหลั่งฮอร์โมน “Endorphine” ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ทำให้ผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการ มีสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมดีขึ้น ซึ่งมีผลทำให้การดูแลการให้บริการภายในศูนย์พัฒนา ฯ บ้านบางแค มีประสิทธิภาพดีขึ้น เช่น ช่วยลดอัตราการหกล้ม ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายและจิตใจดีขึ้น เป็นต้น และนอกจากนั้นยังเป็นการช่วยลดภาระการดูแลของเจ้าหน้าที่

(c) Overcoming Obstacles

 c.      What were the main obstacles encountered? How were they overcome? No more than 500 words
อุปสรรคสำคัญที่เผชิญคืออะไร แล้วหน่วยงานมีวิธีการจัดการกับอุปสรรคดังกล่าวอย่างไร
ด้านงบประมาณ
- มีข้อจำกัด ในการจัดซื้ออุปกรณ์/เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย หรือบางตัวที่เสื่อมสภาพลง และจำเป็นต้องนำมาใช้ในโปรแกรมกายภาพบำบัด เพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ แก้ไขปัญหา มีการระดมทุน และขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกลุ่มต่าง ๆ อาทิ ธุรกิจเอกชน ประชาชนทั่วไป ฯลฯ อย่างต่อเนื่อง จนจัดหามาทดแทนให้ครบทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว
ด้านความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
- กลุ่มผู้สูงอายุ บางรายเลือกรับบริการเฉพาะโปรแกรมที่ตนเองชอบ ซึ่งอาจจะส่งผลให้มีการพัฒนาในด้านเดียว ทำให้ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ แก้ไขปัญหา จัดเจ้าหน้าที่ให้ความรู้เฉพาะราย สร้างความเข้าใจ และกระตุ้นผู้สูงอายุในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ครอบคลุมทุกมิติ
- กลุ่มเจ้าหน้าที่ ในบางโปรแกรม ที่ต้องใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ ทันสมัย หรือจำเป็นต้องให้การดูแลผู้สูงอายุที่ใช้บริการอย่างใกล้ชิด ได้ส่งผลกระทบต่องานประจำของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่บ้าง แก้ไขปัญหา จัดอบรมให้ความรู้ แก่กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่หลากหลายตำแหน่งเพิ่มขึ้น และมีการหมุนเวียนมาช่วยกันปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มขึ้น
- กลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ทั่วไป ยังไม่สามารถให้บริการที่ครอบคลุมได้ ด้วยข้อจำกัดด้านสถานที่/จำนวนคนเข้าใช้บริการ แก้ไขปัญหา มีการขยายการให้บริการในกิจกรรมนี้แก่กลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ภายในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับ มีการจัดแบ่งตารางเวลาการให้บริการที่ชัดเจน จนได้รับการยอมรับในระดับที่ดีจากกลุ่มเป้าหมายภายนอก
ด้านการวัดประเมินผล
- การวัดประเมินผลผลผู้เข้าร่วมโครงการ ในด้าน จิตใจ และอารมณ์ สังคม รวมถึงจิตวิญญาณ เป็นการวัดประเมินผลเชิงคุณภาพ จะมีความยากกว่าการวัดผลทางด้านร่างกาย จึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียด ถึงจะเห็นผลการพัฒนาของแต่ละบุคคลอย่างแท้จริง แก้ไขปัญหา เพิ่มระยะเวลาในการวัดประเมินผลเชิงคุณภาพเพิ่มขึ้น และเชิญผู้ประเมินที่เชี่ยวชาญจากภายนอกหน่วยงานเข้าร่วมเป็นทีมประเมินในการวัดผลเพิ่มเติม

(d) Use of Resources

 d.      What resources were used for the initiative and what were its key benefits? In no more than 500 words, specify what were the financial, technical and human resources’ costs associated with this initiative. Describe how resources were mobilized
ทรัพยากรที่ใช้ในกิจกรรมดังกล่าวมีอะไรบ้าง เช่น ด้านการเงิน ด้านเทคนิค ด้านทรัพยากรบุคคล ให้อธิบายด้วยว่านำทรัพยากรดังกล่าวมาใช้ในการขับเคลื่อนอย่างไรบ้าง

1. ด้านบุคลากร
จัดอบรมบุคลากรให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม ห้องฟื้นฟูและรักษาสุขภาพ (Snoezelen Room) เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ ภายในห้อง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมอย่างถูกต้อง
การสร้างผู้รับผิดชอบโปรแกรมต่าง ๆ ด้วยบุคลากรของหน่วยงาน เช่น นักจิตวิทยาเป็นผู้รับผิดชอบโปรแกรม สปาจิต ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้การฟื้นฟูด้านอารมณ์และจิตใจโดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่โภชนากร รับผิดชอบโปรแกรม โภชนบำบัด เกี่ยวกับการใช้อาหารช่วยในการป้องกันและรักษาโรค เป็น ซึ่งนอกจากเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรใช้องค์ความรู้ในการจัดโปรแกรมจากบุคลากรแต่ละวิชาชีพ แล้วยังประหยัดงบประมาณในการจ้างบุคลากรภายนอกมาเป็นผู้ดำเนินการได้อย่างดี
2. ด้านงบประมาณ
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้งจากองค์กรภาครัฐ (กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) และภาคเอกชน (มูลนิธิบ้านบางแค) รวมถึงกลุ่มบุคคล ประชาชนทั่วไป ทั้งนี้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในด้านการดำเนินงานตามโปรแกรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
3. ด้านสิ่งแวดล้อม
ได้จัดอาคารและภูมิทัศน์ที่ร่มรื่น โดยได้นำอาคารที่มีอยู่ มาปรับปรุงให้เหมาะกับการจัดโปรแกรมแต่ละโปรแกรมมากยิ่งขึ้น เช่น จัดสวนที่เหมาะกับการผ่อนคลายเมื่อผู้สูงอายุเข้าร่วมโปรแกรมศิลปะบำบัด เพราะเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่จะกระตุ้นผู้สูงอายุ ให้อยากเข้ารับการฟื้นฟูสุขภาวะของตนเอง หรือการจัดสถานที่การเรียนรู้โปรแกรมโภชนบำบัด ให้เป็นห้องครัวจริง หรือ การจัดห้องโปรแกรมสปาจิต ให้เงียบสงบ ภายใต้เก้าอี้ที่เหมาะสมกับกับการฝึกจิตสมาธิ เป็นต้น
4. ด้านอุปกรณ์
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ๆ อุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในโปรแกรมกายภาพบำบัด ที่จำเป็นและเหมาะสำหรับกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายของผู้สูงอายุ นอกจากนี้อุปกรณ์ยังเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่สามารถเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้มีความรู้ในเครื่องมือที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูสุขภาพ


5. ด้านเทคนิค/คุณภาพการให้บริการ
การบริการที่จัดให้มีบริการกับผู้สูงอายุ รวมถึงบุคคลทั่วไป โดยคำนึงถึงความยุติธรรม และความเท่าเทียม สังเกตได้จากการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุภายนอก หรือกลุ่มเด็กพิการในชุมชน สามารถเข้าถึงบริการได้ โดยได้พัฒนาให้แต่ละโปรแกรมมีคุณภาพ โดยเฉพาะด้านการดูแลฟื้นฟู เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการและเหมาะกับสภาพปัญหาของผู้สูงอายุแต่ละราย
6. ด้านความมีชื่อเสียง
ศูนย์ ฯ ผู้สูงอายุบ้านบางแค เป็นหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับจากสังคมเรื่องการจัดสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุ เพราะฉะนั้นจึงมีหน่วยงาน บุคคลภายนอกทั้งภายในและภายนอกประเทศให้ความสนใจ ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้งานบริการฟื้นฟูผู้สูงอายุของศูนย์ ฯ มีการพัฒนาและขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Sustainability and Transferability

  Is the initiative sustainable and transferable?
กิจกรรมริเริ่มมีความยั่งยืน และสามารถขยายผลไปยังหน่วยงานอื่นได้หรือไม่อย่างไร โดยความไม่ยั่งยืนเกิดจากการเปลี่ยนผู้บริหาร ลักษณะการทำงาน ทั้งนี้ ความยั่งยืนนั้นต้องสามารถขยายผลไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ได้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน

ประเทศไทย มีศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุรวม 12 แห่งทั่วประเทศ โดยศูนย์ ฯ ได้มีการเปิดตัวโครงการและดำเนินงานภายใต้ชื่อโครงการ Happy home เป็นหน่วยงานแรก โดยริเริ่มจากการเล็งเห็นปัญหาสุขภาวะในด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ โดยศูนย์ ฯ ได้จัดให้มีรูปแบบการการให้บริการที่หลากหลาย และครอบคลุมทุกด้าน มีการนำเครื่องมือต่าง ๆ มาจัดโปรแกรม 11 โปรแกรมอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการเป็นอย่างมาก และยังเป็นที่ยอมรับได้ว่าเป็นหน่วยงานต้นแบบการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย
ผลที่ได้รับจากโครงการ ผู้สูงอายุที่เข้ามาใช้บริการได้ฟื้นฟูทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม มีสุขภาวะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และมีอายุที่ยืนยาว ยังผลให้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาศึกษาดูงานโครงการ Happy home เป็นจำนวนมาก รวมถึงได้นำรูปแบบของการให้บริการไปขยายผลใช้กับหน่วยงานของตนเอง โดยมีศูนย์ ฯ ผู้สูงอายุบ้านบางแคเป็นต้นแบบ ซึ่งโครงการนี้ได้มีการขยายผลไปส่งเสริมให้คนในชุมชน เกิดสนใจเข้าร่วมโปรแกรมต่าง ๆ ของโครงการ Happy home ให้สนใจดูแลสุขภาพของตนเอง ถือเป็นการเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่องตามลำดับ โดยศูนย์ ฯ ผู้สูงอายุอื่น ๆ หน่วยงานหรือสถานศึกษาต่าง ๆ ที่มาศึกษาดูงาน ก็สามารถนำข้อมูลหรือองค์ความรู้ที่ได้ไปดำเนินการและขยายผลทำให้เป็นรูปธรรม เกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุได้เช่นเดียวกัน

Lessons Learned

 What are the impact of your initiative and the lessons learned?
ผลกระทบและบทเรียนสำคัญในการทำกิจกรรมดังกล่าว คือ อะไร เป็นการเรียนรู้ของหน่วยงานจากการดำเนินการภายใต้การขอรับรางวัลดังกล่าว
เป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้สูงอายุเข้าถึงบริการ ของรัฐ ในการส่งเสริมสุขภาวะที่ครอบคลุมแบบองค์รวมใน 4 มิติ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ผ่านกิจกรรมตามโปรแกรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้สูงอายุเป็นหลัก เพราะได้รับการฟื้นฟูสุขภาพอย่างเป็นระบบรายบุคคล ทำให้เพิ่มขีดความสามารถของผู้สูงอายุในการพึ่งตนเอง เกิดความมั่นคงในการดำรงชีวิต ให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีศักยภาพด้วยการมีสุขภาพกาย จิต และสังคมที่ดี สามารถดูแลตนเอง และช่วยเหลือสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี
บ้านบางแคถือว่าเป็นหน่วยงานแรกที่นำโปรแกรมนี้มาใช้ และมีการพัฒนาแต่ละโปรแกรมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ควบคู่กับพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพและบุคลากร ในการสร้างเครื่องมือการให้บริการสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุที่เหมาะสมสอดคล้อง จนเกิดความพึงพอใจกับกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ

Contact Information

Institution Name:   Banbangkhae Social welfare development center for older person
Institution Type:   Government Agency  
Contact Person:   Viput Ongsakul
Title:   Administrator  
Telephone/ Fax:  
Institution's / Project's Website:  
E-mail:   drviput@yahoo.com  
Address:  
Postal Code:  
City:  
State/Province:  
Country:   Thailand

          Go Back

Print friendly Page